วิสัยทัศน์

" สร้างสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ความสามัคคี ความเสมอภาคและเป็นธรรม"



ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี 2560 - 2563
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา

1.1 ส่งเสริมสนับสนุน การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพและตามเกณฑ์มาตรฐาน

1.2 สร้างโอกาสและทางเลือกสำหรับเด็กเยาวชนและประชาชนเข้าถึงบริการการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย นำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.3 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการติดต่อสื่อสาร โดยจัดให้มีบุคลากรผู้ชำนาญการหรือเจ้าของภาษาเป็นผู้ถ่ายทอด เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

1.4 ส่งเสริมให้บุคลากรด้านการศึกษาได้รับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

1.5 สนับสนุนการเรียนรู้คู่คุณธรรมร่วมกับสถาบันทางศาสนา รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาที่คำนึงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมทางด้านภาษา และการแต่งกายล้านนา

1.6 สนับสนุนให้มีการขยายโรงเรียนระดับมัธยมหรือโรงเรียนทางเลือกอื่น ๆ ไปยังอำเภอและท้องถิ่นอื่นๆ มากขึ้น เพื่อสร้างทางเลือกและสร้างโอกาสในการศึกษาเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้ศึกษาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น

1.7 พัฒนาการเรียนการสอน และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง

1.8 ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาให้มีการพัฒนาสื่อสาร้างสรรค์ สื่อปลอดภัย สำหรับเด็กและเยาวชนในการรับข่าวสาร เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต

2.1 ส่งเสริมงานด้านสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส

2.2 สนับสนุนที่พักอาศัยแก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ให้มีที่อยู่อาศัยที่ดี คงทน ถาวร และมีสภาพแวดล้อมที่ดี

2.3 ส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น ตลอดจนให้ความสำคัญกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ได้รับอาหารเสริมนมและอาหารกลางวันอย่างครบถ้วน และเป็นธรรม

2.4 สนับสนุนงานด้านการส่งเสริมอาชีพและฝึกอาชีพให้กับประชาชน กลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มผู้ไม่มีงานทำเพื่อก่อให้เกิดการสร้างงานและอาชีพ รวมทั้งส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้พิการ มีงานทำและมีรายได้เพื่อการยังชีพ

2.5 ส่งเสริมและพัฒนาการจัดระเบียบชุมชน งานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย งานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนการให้ความสำคัญกับระบบเตือนภัยที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยพิบัติในท้องถิ่น

2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ ภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ

2.7 ส่งเสริมการบำรุงรักษาศิลปะ ศาสนา จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น

2.8 ส่งเสริมและสนับสนุนการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

2.9 ส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ

2.10 ส่งเสริมการสร้างสวนสาธารณะ สวนสุขภาพ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ พาณิชย์ การเกษตรและอุตสาหกรรม

3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น

3.2 ส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานด้านบริการและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวสร้างความประทับใจแก่นักท้องเที่ยวและผู้มาเยือน

3.3 สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ พาณิชย์ การเกษตรและอุตสาหกรรม

3.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือสหการ

3.5 ส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารพิษ การปลูกพืชเศรษฐกิจ สัตว์เศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงและถูกหลักวิธี

3.6 ส่งเสริมการร่วมกลุ่มเกษตรกรและความรู้สมัยใหม่ ควบคุมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และความรู้สมัยใหม่ ควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเกิดแนวทางในการนำไปสู่วิสาหกิจชุมชน การส่งออกผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าของสินค้า นำไปสู่อุตสาหกรรมครัวเรือนและชุมชน

3.7 สร้างเครือข่ายในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดทำ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรที่เหมาะสม

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.1 ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสียในชุมชน มลพิษอากาศ ตลอดจนรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของชุมชนและท้องถิ่น

4.2 เสริมสร้างความร่วมมือในการดำเนินการอนุรักษ์ การคุ้มครองดูแลและการบำรุงรักษาป่าไม้ น้ำ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ ให้เกิดผลสำเร็จอย่างยั่นยืน

4.3 ส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างประหยัด ลดมลพิษและลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

4.4 พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.5 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำฝายต้นน้ำ(Check Damm) เพื่อชะลอการไหลของน้ำและตะกอนเสริมความสมบูรณ์ของป่า

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

5.1 ส่งเสริมงานด้านคมนาคมและการขนส่ง ทางระบายน้ำ สะพาน ท่าเทียบเรือ และการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับคมนาคมในจังหวัด

5.2 พัฒนางานด้านการผังเมือง การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะและงานควบคุมอาคาร

5.3 ส่งเสริมการพัฒนาและดูแลรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการเกษตรและการอุปโภค ตลอดจนการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

6.1 ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพของประชาชน และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น

6.2 เสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในชุมชนและท้องถิ่น บนพื้นฐานความถูกต้องยุติธรรมและการยอมรับของทุกภาคส่วน

6.3 พัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการคลัง วิธีการงบประมาณ การบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัยและประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งนี้เพื่อการแก้ไขปัญหาของประชาชนและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ

6.4 พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้และเทคโนโลยีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

6.5 ส่งเสริมการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรักษาความปลอดภัย แก้ไขการจราจรและการบริหารจัดการ

6.6 ส่งเสริมสนับสนุนให้มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตภายในจังหวัด

6.7 พัฒนาระบบจัดหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

6.8 พัฒนาและบริหารจัดการภารกิจถ่ายโอนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

6.9 เสริมสร้างระบบด้านการประสานเครือข่ายในการพัฒนาท้องถิ่นให้เข็มแข็ง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการบูรณาการร่วมกัน